หากเรา อยากเป็นนักร้อง สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ก็คือ การฝึกแบบฝึกหัดเพื่อวอร์มเสียง การร้องเพลงที่จริงแล้วต้องอาศัยทักษะทางกล้ามเนื้อต่างๆ มากมาย การที่เรา อยากเป็นนักร้อง ที่ดี เราจะต้องมีการออกกำลังกายเสียง เช่นเดียวกับการที่นักกีฬาจะต้องฝึกซ้อมร่างกายของตัวเอง เพราะนักร้องคือนักกีฬา การที่เรา อยากเป็นนักร้องแต่ไม่ยอมฝึกเสียงของเราผ่านการทำแบบฝึกหัด เราก็ย่อมไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้เท่าที่ควร และทักษะด้านการร้องเพลงของเราก็อาจจะไม่สามารถก้าวหน้าไปได้ไกลเท่าที่เราต้องการ
อยากเป็นนักร้อง ต้องรู้จักการวอร์มเสียงที่ถูกต้องผ่านการทำแบบฝึกหัด การร้องเพลงไปเรื่อยๆ สามารถช่วยพัฒนาทักษะด้านดนตรีของเรา แต่ไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะจุดที่เสียงของเราต้องการได้ หากเราต้องการจะร้องเพลงที่มีความยาก เราจะต้องมีเสียงที่แข็งแรง ยืดหยุ่น และมีความพร้อมมากพอเสียก่อน หากเสียงของเรายังไม่ได้รับการฝึก แล้วเราจะรีบร้อนไปร้องเพลงยากเลยนั้นก็เปรียบเหมือนกับนักกีฬาที่พยายามจะทำท่ายาก พยามยามจะทำลายสถิติ พยายามท้าทายตัวเองโดยที่ร่างกายยังไม่มีความพร้อม ร่างกายอาจเกิดอันตรายหรือเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นได้
แบบฝึกหัดที่เราใช้ในการวอร์มเสียงนั้นมีวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ช่วยสร้างความยืดหยุ่นเตรียมความพร้อมให้กับเสียง ช่วยซ่อมเสริมสร้างความแข็งแรงของเสียง เพื่อให้เราสามารถใช้เสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดโอกาสในการบาดเจ็บ หากเราไม่ได้เตรียมความพร้อมก่อนแล้วจะไปร้องเพลงที่มีโน๊ตสูงมากๆ และต้องการกำลังในการร้องให้เสียงมีความดังมากๆ เราก็มีแนวโน้มที่จะใช้กำลังมากเกินไป การขาดการเตรียมพร้อมที่ดี เป็นสาเหตุที่เราไม่สามารถควบคุมเสียงของเราได้ในระหว่างที่เราร้องเพลง
ลักษณะของแบบฝึกหัดที่เราใช้เพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างความยืดหยุ่นให้กับเสียง ได้แก่ แบบฝึกหัดในกลุ่มของ SOVT (Semi Occluded Vocal Tract Exercise) เช่น การเป่าปาก (Lip Trill) การวอร์มเสียงด้วยหลอด (Straw Phonation) รวมไปถึงการใช้สระเสียงแคบ เช่น สระอู สระอี ร่วมกับการใช้แพทเทิร์น ในสเกลต่างๆ ที่ครอบคลุมช่วงเสียงกว้างๆ ต้องแน่ใจว่าเราได้ใช้เสียงในทุก register ใช้เสียงในทุกช่วงของเราตั้งแต่เสียงต่ำที่สุดไปจนถึงเสียงสูงที่สุดของเรา ใช้เวลากับแบบฝึกหัดกลุ่มนี้ประมาณ 3-5 นาที และจากนั้นจึงขยับไปทำแบบฝึกหัดที่จะช่วย เจาะแก้ปัญหา สร้างความแข็งแรงเฉพาะจุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังจะร้องเพลงแบบไหน ลักษณะของเสียงที่ต้องใช้ในเพลงนั้นๆ เป็นอย่างไร เน้นเรื่องอะไรเป็นพิเศษ ลักษณะของโทนเสียง และโน๊ตสูงที่ใช้ในเพลงนั้นมีลักษณะความต้องการเป็นอย่างไร การร้องเพลงร๊อค และการร้องเพลง R&B หรือเพลงลูกทุ่ง ก็ย่อมมีลักษณะพิเศษที่ต้องการในเพลงแตกต่างกันไป
การที่เราจะสามารถร้องเพลงได้ดี ในทุกครั้งที่เราจะต้องแสดง การวอร์มเสียงคือสิ่งที่สำคัญที่สุด หากเรามีความเข้าใจลักษณะของเสียงเรา มีความเข้าใจเรื่องการเลือกแบบฝึกหัดที่เหมาะกับเสียงของเรา จะทำให้เราเป็นนักร้องที่ดี ทำให้เราสามารถควบคุมเสียงของตัวเองได้อย่างมั่นใจ การพยายามในทิศทางที่ถูกต้องมีความสำคัญ คนที่ร้องเพลงเยอะ โดยที่ไม่รู้จักการทำแบบฝึกหัดเพื่อการวอร์มเสียงเลย อาจจะมีความเสี่ยงในการใช้เสียงอย่างผิดวิธี ทำให้อายุการใช้งานของเสียงสั้นลงได้ นี่เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง และควรระวังอย่างยิ่งถ้าเราอยากจะเป็นนักร้อง
__________________________
สนใจเรียนร้องเพลง สอบถามรายละเอียดคอร์สเพิ่มเติมทาง Line Offiacial https://lin.ee/WkOWrFk
สนใจคอร์สเรียนออนไลน์ หรืออ่านบทความเพิ่มเติม https://vocalcoachkim.com/
ติดตามครูขิมช่องทาง Facebook Fanpage https://www.facebook.com/vocalcoachkim
__________________________
ครูขิม อริชาภัสร์ โค้ชปรับเสียงร้อง
*ปริญญาโทสาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
*เป็นหนึ่งในศิลปินอัลบั้ม Love Maker by A.M. P.M. ในปี 2551 ร่วมกับค่าย RS Promotion
*ร้องคอรัสให้กับวง ETC ในอัลบั้ม Bring it back ค่าย KPN Music ในปี 2551
*เป็นผู้สอนวิชาขับร้องระดับสูงตามมาตรฐาน KCI ระดับสูงสุด (Red Card) ของสถาบันดนตรี KPN Music Academy ตั้งแต่ปี 2552
*เป็นกรรมการ และจัด workshop ให้กับผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศรายการ WeTV Rising Star จังหวัดเชียงใหม่ 3 ซีซั่นติดต่อกันตั้งแต่ปี 2553-2555
*จัด workshop สอนทักษะการร้องเพลงสำหรับนักเรียนในสถานศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ และต่างประเทศ
*ร่วมงานกับนักร้อง นักดนตรี และโปรดิวเซอร์มืออาชีพที่มีชื่อเสียงในวงการ เป็นนักร้องอาชีพ มีประสบการณ์ในห้องอัด และการแสดงบนเวทีคอนเสิร์ต ประสบการณ์สอนร้องเพลงกว่า 15 ปี ร่วมกับสตูดิโอดนตรีชั้นนำหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ฝึกและรวบรวมเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับการร้องเพลงและการแสดงจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
**ศึกษาในหลักสูตรการสอนร้องเพลง จนเป็นครูผู้สอนที่ได้รับการรับรองของสถาบัน Institute For Vocal Advancement (IVA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี2019