วิธีหาคีย์เพลง สำหรับนักร้อง

วิธีหาคีย์เพลง สำหรับนักร้องหลายๆ คน อาจจะมีความสับสนเวลาถูกนักดนตรีถามว่า เราร้องเพลงคีย์อะไร เพื่อช่วยพวกเรานักร้องให้สามารถตอบคำถามนี้ได้ เรามารู้จักชุดของคอร์ดสำหรับเพลงทุกคีย์ในเมเจอร์สเกล (Major Scale) ครูขิมสรุปเอาคอร์ดหลักๆ ของแต่ละคีย์ในเมเจอร์สเกลมาให้ทุกคนแล้วค่ะ วิธีหาคีย์เพลง เราจะต้องรู้ก่อนว่า องค์ประกอบของคอร์ดในแต่ละคีย์จะประกอบไปด้วย 7 คอร์ดหลัก วางเรียงสลับกันไป ตามทางเดินคอร์ด (Chord Progression) หลายคนดูเอาง่ายๆว่า เพลงนั้นขึ้นต้นด้วยคอร์ดอะไร ก็จะถือเอาว่านั่นคือคีย์ของเพลงนั้นๆเลย ซึ่งไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป เพราะหลายครั้งคอร์ดแรกของเพลงอาจจะเป็น คอร์ด 4(IV) ของสเกล เช่น คีย์ C คอร์ดที่ 1(I) คือคอร์ด C ส่วนคอร์ดที่ 4(IV) คือคอร์ด F เมื่อเราเห็นเพลงขึ้นต้นด้วยคอร์ด F เราก็ถือเอาว่าเพลงนั้นคือคีย์ F แบบนี้เราก็จะคุยกับนักดนตรีไม่รู้เรื่อง ที่จริงโน๊ตโด ของเพลงอยู่ที่ C พอเราบอกว่าคีย์ F นักดนตรีก็จะตั้งเสียงโด ไว้ที่ตัว F ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสื่อสารขึ้นได้ ลำดับและชนิดคอร์ด ประกอบด้วย […]

ร้องเพลงให้มีเอกลักษณ์ ต้องรู้เทคนิคตีความเพลง

ร้องเพลงให้มีเอกลักษณ์ ต้องทำยังไง? คำถามนี้เป็นหนึ่งในคำถามยอดฮิตตลอดกาลที่อยู่ในใจนักร้องมือใหม่หลายๆคน การร้องเพลงให้มีเอกลักษณ์ นอกจากเราจะต้องมีเทคนิคการใช้เสียง เทคนิคการร้องที่สามารถสร้างสรรค์ลักษณะเฉพาะให้คนสามารถจดจำเราได้แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เราสร้างเอกลักษณ์ในการร้องเพลงของตัวเองขึ้นมาได้ ก็คือ เทคนิคการตีความเพลง เทคนิคในการตีความเพลงแบบง่ายๆ ให้ถามตัวเอง 3 ข้อนี้ เพลงนี้ทำให้เรารู้สึกอย่างไร เพลงนี้ทำให้เราเห็นภาพเหตุการณ์อะไร เพลงนี้ทำให้เราเห็นภาพใคร ร้องเพลงให้มีเอกลักษณ์ นั้นเป็นเรื่องท้าทาย หลายครั้งการร้องเพลงของเรา ไม่สามารถสื่อสารเพลงออกมาได้เนื่องจากเราไปยึดติดอยู่กับความคิด เราร้องไปและคิดไป พยายามครุ่นคิดเรื่องราว พยามนึกว่าเราควรจะต้องรู้สึกอะไร นึกพยายามในการถ่ายถอดเนื้อความในเพลง ซึ่งการทำแบบนี้เราก็จะเพียงแค่ร้องเพลงผ่านความคิด กลายเป็นการคิดไปร้องไป ความรู้สึกจึงไม่ถูกถ่ายทอดออกมา นึกเหมือนกับว่าเราเล่นละคร แต่แทนที่เราจะกลายเป็นตัวละครนั้น และแสดงออกมาจริงๆ ปรากฏว่าเราเอาแต่คิดว่าตัวละครนั้น ในสถานการณ์นั้น ควรจะทำอย่างไร รู้สึกอย่างไร แล้วเราจึงค่อยทำลักษณะอาการต่างๆ ออกมาตามที่เราคิดภาพไว้ แบบนี้ทำให้สิ่งที่เราถ่ายทอดออกมาไม่เป็นธรรมชาติ เพราะสิ่งที่คนฟังได้ยิน กับสิ่งที่เรารู้สึกขณะร้อง คือสิ่งเดียวกัน ถ้าเราไม่ได้รู้สึกกับเพลงจริงๆ ผู้ฟังก็ย่อมไม่สามารถรับรู้ถึงความรู้สึกใดๆ ได้เช่นกัน ทีนี้กลับมาที่คำถาม 3 ข้อที่เราถามตัวเอง เพลงนี้ทำให้เรารู้สึกอย่างไร เมื่อเราร้องเพลงนี้เราก็ควรจะร้องด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะที่เราฟัง ถ้าเราฟังเพลงนี้แล้วเกิดความรู้สึกอะไร นั่นคือสิ่งที่เราจะเล่าความรู้สึกนั้นให้คนฟัง ให้จำไว้ว่า การร้องเพลงเป็นการเล่า “ความรู้สึก” ไม่ใช่การเล่า “เนื้อความ” […]

อยากร้องเพลงดี ต้องมี 8 องค์ประกอบนี้

อยากร้องเพลงดี ต้องมารู้จักองค์ประกอบทั้ง 8 ของการร้องเพลงกันก่อน ระเบียบร่างกาย (Body Posture) การร้องเพลงเป็นการใช้ร่างกายเหมือนกับเป็นเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งในการผลิตเสียง ระเบียบร่างกายที่ดีเป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องทำนึงถึง หากเรายืนหรือนั่งด้วยท่าทางที่ไม่ดี เช่น ห่อไหล่ งอหลัง หรือ แอ่นหลังเกินไป ย่อมส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในร่างกาย เมื่อเราร้องเพลงเราต้องการร่างกายที่อยู่ในลักษณะเตรียมพร้อมเพื่อการออกแรง เราต้องมีท่าทางการยืนการนั่งที่จะเอื้ออำนวยให้เราหายใจ และสามารถออกแรงได้อย่างสะดวก การฝึกควบคุมลมหายใจ (Breath Management) ความสามารถในการควบคุมหายใจเป็นสิ่งที่สำคัญมากหากเราต้องการจะร้องเพลงให้ได้ดี การฝึกหายใจสำหรับร้องเพลง อันดับแรกที่เราจะต้องทำคือ เราจะต้องรู้จักการผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อให้เราสามารถหายใจเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเสียก่อน เพราะถ้าหากเราเกิดอาการแน่นเกร็งในการหายใจเข้าเสียแล้วเราก็จะมีการหายใจที่สั้น ตื้น ซึ่งการร้องเพลง เราต้องใช้การหายใจที่ลึก ยาว และมีกำลัง การหายใจเข้าที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญแรกที่เราจะต้องฝึก ส่วนการควบคุมปริมาณลมที่ไหลผ่านเส้นเสียงเวลาร้องเพลงนั้นเราจะสามารถฝึกผ่านการใช้สระ พยัญชนะต่างๆ ผ่านการทำแบบฝึกหัดฝึกเสียงนั่นเอง การฝึกเทคนิคการใช้เสียง (Vocal Techniques) ในการร้องเพลงที่ดี เราจะต้องมีเทคนิคการใช้เสียงที่ดี การสื่อสารบทเพลงให้ตรงกับจินตนาการของเรา ให้มีความไพเราะและมีการควบคุมที่ดีเป็นคุณสมบัติพิเศษของนักร้องมืออาชีพ กับนักร้องที่ไม่ได้ผ่านการฝึกหัด การร้องเพลงจะต้องมีการบาลานซ์กันระหว่าง จินตนาการกับเทคนิคที่ดี หากเราขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็เหมือนนกที่ขาดปีกข้างซ้าย หรือปีกข้างขวา บทเพลงของเราย่อมไม่สามารถโบยบินได้อย่างมีอิสระและสวยงาม ดังนั้นนักร้องที่ดีจะต้องจริงจังกับการฝึกเทคนิคการใช้เสียงของตนเอง อีกทั้งการมีเทคนิคที่ดีจะช่วยป้องกันเสียงของเราจากอาการบาดเจ็บต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเราต้องร้องเพลงที่มีความยาก และต้องใช้เสียงสูงๆ ดังๆ […]

เสียง Chest Voice อยากร้องเพลงดีต้องรู้จัก

เสียง Chest Voice คืออะไร ถ้าเราอยากร้องเพลงได้ดีต้องรู้จักเสียงในโทนนี้ของตัวเองเสียก่อน เสียง Chest Voice เสียงที่เป็นเสียงที่แท้จริงของเรา คือเสียงที่ถูกใช้ด้วยการทำงานของกล้ามเนื้อเส้นเสียง (Vocalis) และกล้ามเนื้อ TA (Thyroarytenoid muscle) เนื้อเสียงที่เราได้ยินเป็นเสียงของเส้นเสียง (Vocal Fold) ที่เกิดการประกบตัวกับด้วยความถี่หลายร้อยรอบต่อวินาที (HZ) ช่วงความถี่เสียงที่หูมนุษย์สามารถได้ยินคือ 20-20,000 HZ ช่วงความถี่ของเสียงร้องผู้หญิงอยู่ที่ 175-2200 Hz และผู้ชายอยู่ที่ 100-800 Hz ขึ้นอยู่กับชนิดเสียงของแต่ละคน เสียง Chest Tone จะเป็นเสียงในย่านความถี่เสียงที่เราจะรับรู้ว่าเสียงนั้นอยู่ในระดับเสียงพูดปกติซึ่งจะต้องมีลักษณะเป็นเสียงที่หนาและมีความแข็งแรง สำหรับบางคนที่มีลักษณะเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลงที่บาง หรือมีลมรั่วปนมากๆ ก็อาจจะเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อเส้นเสียงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรนั่นเอง เสียง Chest Voice เป็นเสียงพื้นฐานของนักร้อง ถ้าเราต้องการจะฝึกร้องเพลงเสียงสูงๆ หรือแม้แต่เพลงที่มีเสียงต่ำมากๆ เรามีความจำเป็นที่จะต้องฝึกเสียงในโทนนี้ให้มีความแข็งแรงก่อนเป็นอันดับแรก การฝึกเสียง Chest Tone ทำได้หลายวิธี โดยหลักการก็คือเราต้องทำให้กล้ามเนื้อเส้นเสียงของเราเข้ามาประกบกันได้เสียก่อน เนื่องจากหลักการทำงานของเสียงคือเส้นเสียงจะต้องมีการประกบตัวกัน (adduction) ด้วยการทำงานของระบบแรงดันลม คือ เมื่อมีลม (airflow) วิ่งผ่านเส้นเสียงที่เข้ามาอยู่ใกล้กัน […]

อยากเป็นนักร้อง วอร์มเสียงนั้นสำคัญไฉน

หากเรา อยากเป็นนักร้อง สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ก็คือ การฝึกแบบฝึกหัดเพื่อวอร์มเสียง การร้องเพลงที่จริงแล้วต้องอาศัยทักษะทางกล้ามเนื้อต่างๆ มากมาย การที่เรา อยากเป็นนักร้อง ที่ดี เราจะต้องมีการออกกำลังกายเสียง เช่นเดียวกับการที่นักกีฬาจะต้องฝึกซ้อมร่างกายของตัวเอง เพราะนักร้องคือนักกีฬา การที่เรา อยากเป็นนักร้องแต่ไม่ยอมฝึกเสียงของเราผ่านการทำแบบฝึกหัด เราก็ย่อมไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้เท่าที่ควร และทักษะด้านการร้องเพลงของเราก็อาจจะไม่สามารถก้าวหน้าไปได้ไกลเท่าที่เราต้องการ อยากเป็นนักร้อง ต้องรู้จักการวอร์มเสียงที่ถูกต้องผ่านการทำแบบฝึกหัด การร้องเพลงไปเรื่อยๆ สามารถช่วยพัฒนาทักษะด้านดนตรีของเรา แต่ไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะจุดที่เสียงของเราต้องการได้ หากเราต้องการจะร้องเพลงที่มีความยาก เราจะต้องมีเสียงที่แข็งแรง ยืดหยุ่น และมีความพร้อมมากพอเสียก่อน หากเสียงของเรายังไม่ได้รับการฝึก แล้วเราจะรีบร้อนไปร้องเพลงยากเลยนั้นก็เปรียบเหมือนกับนักกีฬาที่พยายามจะทำท่ายาก พยามยามจะทำลายสถิติ พยายามท้าทายตัวเองโดยที่ร่างกายยังไม่มีความพร้อม ร่างกายอาจเกิดอันตรายหรือเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นได้ แบบฝึกหัดที่เราใช้ในการวอร์มเสียงนั้นมีวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ช่วยสร้างความยืดหยุ่นเตรียมความพร้อมให้กับเสียง ช่วยซ่อมเสริมสร้างความแข็งแรงของเสียง เพื่อให้เราสามารถใช้เสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดโอกาสในการบาดเจ็บ หากเราไม่ได้เตรียมความพร้อมก่อนแล้วจะไปร้องเพลงที่มีโน๊ตสูงมากๆ และต้องการกำลังในการร้องให้เสียงมีความดังมากๆ เราก็มีแนวโน้มที่จะใช้กำลังมากเกินไป การขาดการเตรียมพร้อมที่ดี เป็นสาเหตุที่เราไม่สามารถควบคุมเสียงของเราได้ในระหว่างที่เราร้องเพลง ลักษณะของแบบฝึกหัดที่เราใช้เพื่อเตรียมความพร้อม และสร้างความยืดหยุ่นให้กับเสียง ได้แก่ แบบฝึกหัดในกลุ่มของ SOVT (Semi Occluded Vocal Tract Exercise) เช่น การเป่าปาก (Lip Trill) […]

สร้างความมั่นใจบนเวที ด้วยเทคนิค 4T

สร้างความมั่นใจบนเวที สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยเทคนิค 4T ความมั่นใจนั้นที่แท้แล้วเกิดจากการที่เรารู้ตัวว่าเรากำลังจะทำอะไร รู้ว่าตัวเราเองทำอะไรได้บ้าง และรู้ว่าเราต้องการอะไรจากการกระทำนั้นๆ การสร้างความความมั่นใจบนเวที เกิดขึ้นจากการเตรียมตัวที่ดีมากพอ การฝึกซ้อมที่เพียงพอทำให้เรารู้ตัว และร่างกายเราจะสามารถจดจำสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกซ้อมได้ หากเราได้ใช้เวลาในการฝึกซ้อมอย่างเต็มที่ เมื่อเราได้ผ่านการเตรียมตัวที่ดีก่อนการขึ้นเวทีแล้ว เมื่อถึงเวลาที่เราจะต้องขึ้นแสดงจริงๆ เราจะต้องมีความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ และสื่อสารความมั่นใจออกไปยังคนดู เพราะคนดูจะเห็นนักร้องนักแสดงในฐานะของผู้ที่จะนำพาเขาไปยังประสบการณ์ใหม่ๆ จากการแสดง หากนักร้องนักแสดง ซึ่งรับบทผู้นำนี้มีท่าทางที่แสดงออกถึงความไม่มั่นใจ คนดูก็จะไม่ให้ความไว้วางใจเราเช่นกัน สร้างความมั่นใจบนเวที สร้างภาพปรากฎของเราให้ดูมั่นใจ น่าเชื่อถือ สามารถทำได้ด้วยการยึดหลัก 4T นี้ TAKE TIME TAKE SPACE TAKE SLOWER PACE TAKE CONTROL ____________________________ TAKE TIME เมื่อขึ้นเวทีเราไม่จำเป็นต้องรีบเร่ง จำไว้ว่าช่วงเวลาสั้นๆบนเวทีนั้นเป็นช่วงเวลาของเรา เราสามารถบริหารจัดการเวลาในแต่ละช่วงของการแสดงได้ตามที่เราต้องการ เมื่อขึ้นไปถึงเวทีไม่จำเป็นต้องรีบร้อนในการทำการแสดง เราสามารถใช้เวลาช่วงสั้นๆ ในการกล่าวทักทายผู้ชม ให้เวลาตัวเองได้ปรับตัวกับเวที และบรรยากาศโดยรอบอย่างเต็มที่ จนกว่าเราจะรู้สึกว่าความตื่นเกร็งต่างๆ ได้ลดลงหรือหายไปแล้ว จึงค่อยนำผู้ชมเข้าสู่การแสดงเป็นลำดับต่อไป วิธีนี้นอกจากจะทำให้เราลดอาการประหม่าลงแล้วยังทำให้ผู้ชมได้มีโอกาสทำความรู้จักเราในช่วงเริ่มต้นอย่างเพียงพออีกด้วย TAKE SPACE การบริหารพื้นที่บนเวทีเป็นเรื่องสำคัญมาก เมื่อเราขึ้นไปยืนบนเวที […]

ฝึกร้องเพลงให้เพราะขึ้น 10 เทคนิคจาก vocal coach ตัวจริง

เราสามารถ ฝึกร้องเพลงให้เพราะขึ้น โดยอาศัยการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ วันนี้ครูขิมมีเทคนิค 10 ข้อที่เราควรจะต้องเรียนรู้เพื่อช่วยให้เราสามารถร้องเพลงได้ดีขึ้น ไปดูกันเลยค่ะว่ามีอะไรบ้าง ลักษณะท่าทางในการยืน หรือ นั่ง ต้องรักษาระเบียบร่างกายให้อยู่ในลักษณะลำตัวตรง แข็งแรง ผ่อนคลาย ไม่เกร็งส่วนให้ส่วนหนึ่งของร่างกาย เรียนรู้เทคนิคควบคุมลมหายใจด้วยการใช้กระบังลม และกล้ามเนื้อส่วนลำตัว ฝึกทักษะการฟังด้วยการหัดร้องโน้ตในระบบ solfege คือการใช้เสียง โด เร มี ฟา โซ ลา ที โด วอร์มเสียงด้วยแบบฝึกหัด vocal exercise ที่เหมาะกับชนิดเสียงของเรา การที่เราได้รับแบบฝึกหัดที่เหมาะสมกับลักษณะเสียงของเราโดยเฉพาะนั้นจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาเสียงของเราไปได้ไกลกว่าการสุ่มทำแบบฝึกหัดที่ไม่เหมาะสม หลายเท่าตัวเลยทีเดียว ฝึกร้องด้วยโทนเสียงที่ดี สมดุล ไม่เเหลม ไม่ทุ้ม ไม่บาง หรือไม่หนาเกินไป เสียงที่ไพเราะนั้นจะต้องเป็นเสียงที่ฟังแล้วสบาย ลื่นหู มีพลัง เหมือนกับการที่เราได้ฟังเสียงเพลงเพราะๆ จากลำโพงราคาแพง ที่มีคุณภาพสูง ฝึกร้องเสียงในย่านโทนต่างๆ เช่น chest tone, mix tone, head tone ให้คล่องแคล่วครบถ้วน ไม่ดัน […]

ร้องเพลงให้เพราะ ปั้นเสียงอย่างใจใน 3 ขั้นตอน

ร้องเพลงให้เพราะ ต้องฝึกอย่างไร การจะปั้นเสียง ร้องเพลงให้เพราะ ได้นั้นต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้อง การที่เราฝึกเทคนิคการใช้เสียงอย่างมีขั้นตอนจะทำให้เรามีเสียงร้องเพลงที่ไพเราะขึ้นได้ วันนี้ครูขิมมี 3 ขั้นตอนง่ายๆ มาฝากกันนะคะ ไปดูกันเลย ข้อแรก : เรียนรู้เรื่องการใช้ resonance ของเสียง คำว่า resonance หมายถึง การสั่นพ้อง ทฤษฎีนี้มีอยู่ว่าวัตถุแต่ละชิ้นมีความถี่ของตัวมันเอง ถ้าหากวัตถุนั้นถูกกระทบจากคลื่นเสียงที่มีความถี่ที่เท่ากันกับความถี่ตามธรรมชาติของมัน วัตถุก็จะเกิดการสั่นพ้อง เกิดการสั่นสะเทือนสะท้อนกลับออกมา หากลองนึกภาพเหมือนกับ การที่หนังกลองสั่นเมื่อนักดนตรีดีดกีต้าร์เบส หรือ การที่นักร้องโอเปร่าร้องเพลงเสียงสูงๆ จนแก้วเกิดการสั่นและแตกได้ แบบนี้เป็นต้น ร่างกายของเราก็เป็นเช่นเดียวกัน เมื่อเราร้องเพลงก็คือการที่เราผลิตคลื่นเสียงออกมา ถ้าเราเข้าใจเรื่อง resonance เราก็จะรู้ว่าการที่จะทำให้เสียงเราก้องกังวานออกมาได้นั้น เราต้องอาศัยช่องเสียง และอวัยวะต่างๆ ในการก้องสะท้อนเสียงกลับออกมา เราจะไม่ใช้กำลังจากการดัน หรือกระแทกเส้นเสียงแรงๆ เท่านั้น เวลาเราร้องเพลงควรเริ่มจากการ Hum ใช้การฮัมเพื่อหาช่องเสียงที่ให้ resonance ที่ดีที่สุด มีความก้องกังวานที่สุดของโน๊ตนั้นๆ เช่น Chest Resonance, Mouth Resonance, หรือ Head Resonance […]

อยากร้องเพลงเพราะ ลองใช้ 3 เทคนิคนี้

อยากร้องเพลงเพราะ ฝึก 3 ขั้นตอนนี้

อยากร้องเพลงเพราะ จะต้องทำอย่างไร วันนี้ครูขิมมีเทคนิคง่ายๆ 3 ข้อมาฝากกัน สำหรับคนที่ อยากร้องเพลงเพราะ อยากฝึกฝนตัวเองในการร้องเพลงลองทำตามดูนะคะ หาแรงบันดาลใจ สร้าง routine การฝึกซ้อม สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ข้อแรก หาแรงบันดาลใจ การฝึกร้องเพลงในเบื้องต้นเราจำเป็นต้องมีต้นแบบในการร้อง ให้เราลองหาเพลงที่ชอบฟัง ศิลปินที่เราชอบ แล้วลองสังเกตดูว่า ลักษณะของเพลง และศิลปินที่เราชอบฟังนั้นมีแนวโน้มไปในทางไหน เป็นสไตล์แบบใด อาจจะเริ่มจากการตั้งคำถามง่ายๆ ว่าแนวเพลงที่เรามักจะฟังอยู่บ่อยๆ นั้น มักจะเป็นเพลงแบบไหน เพลงป๊อบใสๆ อะคูสติก ฟังง่ายๆ หรือ เราชอบเพลงที่มีเสียงกีต้าร์ไฟฟ้าแบบร๊อค เพลงหวานๆ ballade เป็นเสียงเปียโนเพราะๆ หรือเพลงอิเล็คโทรนิค สังเกตโทนเสียงของนักร้องที่เราชอบฟัง ว่าเป็นลักษณะโทนเสียงแบบไหน หวานใส หรือหนักเเน่นดุดัน มีลักษณะสไตล์การร้องเฉพาะตัวแบบไหนที่เราชอบเป็นพิเศษ จากนั้นเราจึงเริ่มต้นง่ายๆ อย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยการลองร้องตาม จับทำนอง จับจังหวะ ทดลองใช้เสียงแบบต่างๆ ตามแบบศิลปินที่เราชื่นชอบ และอย่าลืมอัดเสียงตัวเองเอาไว้ฟังด้วย เนื่องจากการฝึกร้องไปรื่อยๆ นั้น ในขณะที่เราร้อง เราจะไม่สามารถรับรู้เสียงของตัวเองได้อย่างชัดเจน ถ้าเราได้ยินเสียงตัวเองจากเครื่องอัดเสียง เราจะสามารถได้ยินอย่างขัดเจนขึ้นว่าเสียงไหนที่เพราะ หรือ […]

ฝึกเสียงด้วยตัวเอง เลือกแบบฝึกหัด ต้องรู้ 3 ข้อนี้

ฝึกเสียงด้วยตัวเอง อยากเสียงเพราะ สามารถร้องเพลงที่ชอบได้ง่ายๆ ต้องอาศัยการฝึกฝนที่ถูกวิธี การเลือกแบบฝึกหัดที่ใช้นั้นมีความสำคัญอย่างมากที่เราจะต้องเลือกให้เหมาะกับตัวเอง หากเราเลือกแบบฝึกหัดที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะทำให้เราเสียเวลา และในหลายกรณี แบบฝึกหัดที่เราเลือกนั้น นอกจากจะไม่ีให้ผลดีแล้วยังอาจจะเป็นผลเสียต่อการฝึกของเราอีกด้วย วันนี้ครูขิมมีหลัก 3 ข้อ เป็นแนวทางในการเลือกแบบฝึกหัด หากเราต้องการ ฝึกเสียงด้วยตัวเอง ให้ได้ผลดีมาฝากค่ะ  ข้อแรก เราต้องรู้ก่อนว่าปัญหาของเราอยู่ที่จุดไหน เราต้องการจะฝึกเสียงในแง่มุมไหน เช่นต้องการจะฝึก ความคล่องตัวในการเอื้อนโน๊ตในสเกลต่างๆ หรือต้องการจะฝึกความแข็งแรงของเสียง หากเราต้องการจะฝึกความเเข็งแรงของเสียง เราจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์เสียงของตัวเองระดับหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถเลือกแบบฝึกหัดที่เหมาะสมได้ เนื่องจากแบบฝึกหัดที่ใช้ในการฝึกเสียงแต่ละตัวนั้นมีจุดประสงค์ในการฝึกต่างๆ กัน แบบฝึกหัดแต่ละตัวให้ผลไม่เหมือนกัน หากเราเลือกแบบฝึกหัดผิด ไปเลือกทำแบบฝึกหัดที่ไม่เหมาะกับชนิดของเสียงเรา ไม่เหมาะกับปัญหาของเรา หลายครั้งการฝึกแบบฝึกหัดเหล่านั้นซ้ำๆ กลับจะยิ่งทำให้ปัญหากลับแย่ลงไปอีก จึงเป็นสิ่งที่ควรระวังและคำนึงถึงเป็นอย่างมาก ต้องลือกแบบฝึกหัดที่เหมาะกับชนิดของเสียงเรา ข้อที่สอง เราต้องรู้จักช่วงเสียงของตัวเอง ลำดับต่อไป เมื่อเรารู้ปัญหาแล้วว่าเราจะต้องเลือกแบบฝึกหัดชนิดไหนในการฝึก อย่างน้อยๆ เราจะต้องรู้จัก เสียงเชส (Chest Voice) เสียงมิ๊กซ์ (Mix Voice) และเสียงเฮด (Head Voice) ของเราเสียก่อน โดยเทียบเสียงจากแป้นเปียโน ว่าช่วงเสียงในแต่ละช่วงของเราอยู่ที่ตำแหน่งไหน หลักกว้างๆ […]